BLOGGER TEMPLATES - TWITTER BACKGROUNDS

วันอาทิตย์ที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2554

"บุญ" และ "กุศล" ไม่ใช่สิ่งเดียวกัน พุทธศาสนิกชนควรแยกให้ได้ เพื่อความหลุดพ้นอย่างแท้จริง

พระไพศาล วิสาโล - Phra Paisal Visalo's Facebook Notes


๒๗ มีนาคม๒๕๕๔, ๑๖:๓๓:๔๐


เมื่อใดมีการพิจารณากันให้ละเอียดถี่ถ้วน เมื่อนั้นจะพบความแตกต่างระหว่าง สิ่งที่เรียกกันว่า "บุญ" กับ สิ่งที่เรียก(กัน)ว่า "กุศล" บ้างไม่มากก็น้อย แล้วแต่ความสามารถ ในการพินิจพิจารณา แต่ว่าโดยเนื้อแท้แล้ว บุญ กับ กุศล ควรจะเป็นคนละอย่าง หรือ เรียกได้ว่า ตรงกันข้าม ตามความหมายของรูปศัพท์ แห่งคำสองคำนี้ทีเดียว


คำว่า บุญ มีความหมายว่า ทำให้ฟู หรือ พองขึ้น บวมขึ้น นูนขึ้น ส่วนคำว่า กุศล นั้น แปลว่า แผ้วถาง ให้ราบเตียนไป โดยความหมายเช่นนี้ เราย่อมเห็นได้ว่า เป็นของคนละอย่างหรือเดินคนละทาง บุญเป็นสิ่งที่ทำให้ฟูใจ พอใจ ชอบใจ เช่น ทำบุญให้ทานหรือรักษาศีลก็ตาม แล้วก็ฟูใจ อิ่มเอิบ หรือแม้ที่สุดแต่รู้สึกว่าตัวได้ทำสิ่งที่ทำยาก


ในกรณีที่ทำบุญเอาหน้า เอาเกียรติ อย่างนี้ก็ได้ชื่อว่าได้บุญเหมือนกัน แม้จะเป็นบุญชนิดที่ไม่สู้จะแพ้ หรือแม้ในกรณีที่ทำบุญด้วยความบริสุทธิ์ใจ เพื่อเอาบุญกันจริง ๆ ก็ยังอดฟูใจไม่ได้ว่าตนจะได้เกิดในสุคติโลกสวรรค์ มีความปรารถนาอย่างนั้นอย่างนี้ ในภพนั้น ภพนี้ อันเป็น ภวตัณหา นำไปสู่การเกิดในภพใหม่ เพื่อเป็น อย่างนั้น อย่างนี้ ตามแต่ตนจะปรารถนา ไม่ออกไปจาก การเวียนว่ายตายเกิด ในวัฎสงสารได้ แม้จะไปเกิดในโลกที่เป็นสุคติ อย่างไรก็ตาม

ฉะนั้น ความหมายของคำว่าบุญ จึงหมายถึง สิ่งที่ทำให้ฟูใจและเวียนไปเพื่อความเกิดอีก ไม่มีวันที่สิ้นสุดลงได้


ส่วนกุศลนั้น เป็นสิ่งที่ ทำหน้าที่ แผ้วถาง สิ่งกีดขวาง ผูกรัด หรือ รกรุงรัง ไม่ข้องแวะกับความฟูใจ หรือ พอใจ เช่นนั้น แต่มีความมุ่งหมายจะกำจัดเสียซึ่ง สิ่งต่างๆ อันเป็นเหตุ ให้พัวพันอยู่ใน กิเลสตัณหา อันเป็น เครื่องนำให้เกิดแล้วเกิดอีก และมีจุดมุ่งหมายกวาดล้างสิ่งเหล่านั้นออกไปจากตัว


ในเมื่อบุญต้องการ โอบรัดเข้ามาหาตัว ให้มีเป็นของของตัวมากขึ้น ในเมื่อฝ่ายที่ถือข้างบุญยึดถือ อะไรเอาไว้มากๆ และพอใจ ดีใจนั้น ฝ่ายที่ถือข้างกุศลก็เห็นว่าการทำอย่างนั้น เป็นความโง่เขลา ขนาดเข้าไปกอดรัดงูเห่าทีเดียว ฝ่ายข้างกุศล หรือ ที่เรียกว่า ฉลาด นั้น ต้องการจะปล่อยวาง หรือ ผ่านพ้นไป ทั้งช่วยผู้อื่นให้ปล่อยวาง หรือผ่านพ้นไปด้วยกัน ฝ่ายข้างกุศล จึงถือว่า ฝ่ายข้างบุญนั้นยังเป็นความมืดบอดอยู่


แต่ว่า บุญ กับ กุศล สองอย่างนี้ ทั้งที่มี เจตนารมณ์ แตกต่างกัน ก็ยังมี การกระทำ ทางภายนอกอย่างเดียวกัน ซึ่งทำให้เราหลงใหลในคำสองนี้อย่างฟั่นเฝือ เพื่อจะให้เข้าใจกันง่าย ๆ เราต้องพิจารณา ดูที่ตัวอย่างต่าง ๆ ที่เรา กระทำกัน อยู่จริง ๆ คือ


(1) ในการให้ทาน ถ้าให้เพราะจะเอาหน้าเอาเกียรติ หรือ เอาของตอบแทนเป็นกำไร หรือ เพื่อผูกมิตร หาพวกพ้อง หรือ แม้ที่สุดแต่เพื่อให้บังเกิดในสวรรค์ อย่างนี้ เรียกว่าให้ทานเอาบุญหรือได้บุญ


แต่ถ้าให้ทานอย่างเดียวกันนั่นเอง แต่ต้องการ เพื่อขูดความขี้เหนียวของตัว ขูดความเห็นแก่ตัว หรือให้เพื่อค้ำจุนศาสนาเอาไว้ เพราะเห็นว่าศาสนาเป็น เครื่องขูดทุกข์ของโลก หรือ ให้เพราะเมตตาล้วน ๆ โดยบริสุทธิ์ใจ หรือ(ด้วย)อำนาจเหตุผล อย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งปัญญาเป็นผู้ชี้ขาดว่า ให้ไปเสียมีประโยชน์มากกว่าเอาไว้ อย่างนี้เรียกว่าให้ทานเอากุศลหรือได้กุศล ซึ่งมันแตกต่าง ๆ ไปคนละทิศละทางกับการให้ทานเอาบุญ
เราจะเห็นได้กันสืบไปอีกว่า การให้ทานเอาบุญนั่นเอง ที่ทำให้เกิดการฟุ่มเฟือยขึ้นในสังคม ฝ่ายผู้รับทาน จนกลายเป็นผลร้ายขึ้น ในวงพระศาสนาเอง หรือในวงสังคมรูปอื่น ๆ เช่น มีคนขอทานในประเทศมากเกินไป เป็นต้น การให้ทาน(ที่)ถูกนักคิดพากันวิพากษ์วิจารณ์ ในแง่เสื่อมเสีย ก็ได้แก่ การให้ทานเอาบุญนี้เอง ส่วนการให้ทานเอากุศลนั้นอยู่สูง พ้นการที่ถูกเหยียดอย่างนี้ เพราะว่ามีปัญญาหรือเหตุผลเข้าควบคุม แม้ว่าอยากจะให้ทาน เพื่อขูดเกลา ความขี้เหนียว ในจิตใจ ของเขา ก็ยังมีปัญญา รู้จักเหตุผลว่า ควรให้ไปในรูปไหน มิใช่เป็นการให้ไปในรูป “ละโมบบุญ” หรือ “เมาบุญ” เพราะว่ากุศล ไม่ได้เป็นสิ่งที่หวานเหมือนกับบุญ จึงไม่มีใครเมา และไม่ทำให้เกิดการเหลือเฟือ ผิดความสมดุลขึ้นในวงสังคมได้เลย นี่เราพอจะเห็นได้ว่า ให้ทานเอาบุญ กับ ให้ทานเอากุศลนั่น ผิดกันเป็นคนละอันอย่างไร


(2) ในการรักษาศีล ก็เป็นทำนองเดียวกันอีก รักษาศีลเอาบุญ คือรักษาไปทั้งที่ไม่รู้จัก ความมุ่งหมายของศีล เป็นแต่ยึดถือในรูปร่างของการรักษาศีล แล้วรักษาเพื่ออวดเพื่อนฝูง หรือ เพื่อแลกเอาสวรรค์ ตามที่นักพรรณนาอานิสงส์ เขาพรรณนากันไว้หรือ ทำอย่างละเมอไปตามความนิยมของคนที่มีอายุล่วงมาถึงวัยนั้นวัยนี้ เป็นต้น ยิ่งเคร่งเท่าใด ยิ่งส่อความเห็นแก่ตัว และความยกตัว มากขึ้นเท่านั้น ยิ่งมีความยุ่งยากในครอบครัว หรือวงสังคม เกิดขึ้นใหม่ ๆ แปลก ๆ เพราะ ความเคร่งครัด ในศีลของบุคคลประเภทนี้อย่างนี้ เรียกว่ารักษาศีลเอาบุญ
ส่วนบุคคลอีกประเภทหนึ่ง รักษาศีลเพียงเพื่อให้เกิดการบังคับตัวเอง สำหรับจะเป็นทางให้เกิดความ บริสุทธิ์ และความสงบสุขแก่ตัวเองและเพื่อนมนุษย์เพื่อใจสงบ สำหรับเกิดปัญญา ชั้นสูง นี้เรียกว่า รักษาศีลเอากุศล
รักษา(ศีล)มีจำนวนเท่ากัน ลักษณะเดียวกัน ในวัดเดียวกัน แต่กลับเดินไปคนละทิศละทาง อย่างนี้เป็นเครื่องชี้ ให้เห็นภาวะแห่งความแตกต่าง ระหว่างคำว่า บุญ กับคำว่า กุศล


คำว่ากุศลนั้น ทำอย่างไรเสีย ก็ไม่มีทางตกหล่ม จมปลักได้เลย ไม่เหมือนกับคำว่า บุญ


และกินเข้าไปมากเท่าไร ก็ไม่มีเมา ไม่เกิดโทษ ไม่เป็นพิษ




ในขณะที่คำว่า บุญ แปลว่า เครื่องฟูใจนั้น


คำว่ากุศล แปลว่า ความฉลาดหรือ เครื่องทำให้ฉลาด และปลอดภัย ร้อยเปอร์เซ็นต์




(3) ในการเจริญสมาธิ ก็เป็นอย่างเดียวกันอีก คือ สมาธิเอาบุญก็ได้ เอากุศลก็ได้ สมาธิเพื่อดูนั่นดูนี่ ติดต่อกับ คนโน้นคนนี้ที่โลกอื่น ตามที่ตนกระหาย จะทำให้เก่งกว่าคนอื่น หรือ สมาธิเพื่อการไปเกิด ในภพนั้น ภพนี้ อย่างนี้เรียกว่า สมาธิเอาบุญ หรือ ได้บุญ เพราะทำใจให้ฟู ให้พอง ตามความหมายของมัน นั่นเอง ซึ่งเป็นของที่ปรากฏว่าทำอันตราย แก่เจ้าของ ถึงกับต้องรับการรักษาเป็นพิเศษ หรือ รักษาไม่หายจนตลอดชีวิตก็มีอยู่ไม่น้อย เพราะว่า สมาธิเช่นนี้(มี)ตัณหาและทิฎฐิเป็นสมุฎฐาน แม้จะได้ผลอย่างดีที่สุดก็เพียงได้เกิดในวัฏสงสาร ตามที่ตนปรารถนาเท่านั้น ไม่เป็นไปเพื่อนิพพาน



ส่วนสมาธิที่มีความมุ่งหมาย เพื่อการบังคับใจตัวเอง ให้อยู่ในอำนาจ เพื่อกวาดล้าง กิเลส อันกลุ้มรุมจิตให้ ราบเตียน ข่มขี่มิจฉาทิฎฐิ อันจรมาในปริมณฑลของจิต ทำจิตให้ผ่องใสเป็นทางเกิดของวิปัสสนาปัญญา อันดิ่งไปยังนิพพาน เช่นนี้เรียกว่า สมาธิได้กุศล ไม่ทำอันตรายใคร ไม่ต้องหาหมอรักษา ไม่หลงวนเวียน ในวัฎสงสาร จึงตรงกันข้าม จากสมาธิเอาบุญ
(4) ครั้นมาถึงปัญญา นี้ไม่มีแยกเป็นสองฝ่าย คือ ไม่มีปัญญาเอาบุญ เพราะตัวปัญญานั้นเป็นตัวกุศล เสียเองแล้ว เป็นกุศลฝ่ายเดียว นำออกจากทุกข์อย่างเดียว แม้ยังจะต้องเกิดในโลกอีก เพราะ(ปัญญา)ยังไม่แก่ถึงขนาด ก็มีความรู้สึกตัว เดินออกนอกวัฎสงสาร มีทิศทางดิ่งไปยังนิพพานเสมอ ไม่วนเวียน จนติดหล่ม จมเลน โดยความไม่รู้สึกตัว ถ้ายังไม่ถึงขนาดนี้ ก็ยังไม่เรียกว่า ปัญญาในกองธรรม หรือ ธรรมขันธ์ ของพุทธศาสนา ดังเช่น ปัญญาในทาง อาชีพหาเลี้ยงปากเลี้ยงท้อง เป็นต้น ตามตัวอย่าง ที่เป็นอยู่ในเรื่องจริงที่เกี่ยวกับการกระทำของพวกเราเอง




ดังที่กล่าวมาแล้วนี้ ทำให้เราเห็นได้ว่า การที่เราเผลอ หรือ ถึงกับหลงเอา บุญ กับ กุศล มาปนเป เป็นอันเดียวกันนั้น ได้ทำให้เกิด ความสับสนอลเวง เพียงไร และทำให้คว้าไม่ถูกตัวสิ่งที่เราต้องการ จนเกิดความยุ่งยากสับสน อลหม่าน ในวงพวกพุทธบริษัทเองเพียงไร ถ้าเรายังขืนทำสุ่มสี่สุ่มห้า เอา ของสองอย่างนี้เป็นของอันเดียวกัน อย่างที่ เรียกกัน พล่อยๆ ติดปากชาวบ้านว่า "บุญกุศลๆ" เช่นนี้อยู่สืบไปแล้ว เราก็จะไม่สามารถ แก้ปัญหา ต่างๆ อันเกี่ยวกับ การทำบุญกุศล นี้ ให้ลุล่วงไป ด้วยความดี จนตลอดกัลปาวสานก็ได้


ถ้ากล่าวให้ชัดๆ สั้นๆ
บุญเป็นเครื่องหุ้มห่อ กีดกั้นบาป ไม่ให้งอกงามหรือปรากฏ


หมดอำนาจบุญเมื่อใด บาปก็จะโผล่ออกมาและงอกงามสืบไปอีก


ส่วนกุศลนั้น เป็นเครื่องตัดรากเหง้าของบาปอยู่เรื่อยไป
จนมันเหี่ยวแห้ง สูญสิ้นไม่มีเหลือ
ความต่างกันอย่างยิ่งย่อมมีอยู่
ดังกล่าวนี้คนปรารถนาบุญ จงได้บุญ คนปรารถนากุศล ก็จงได้กุศล และปลอดภัย ตามความปรารถนา แล้วแต่ใคร จะมองเห็น และจะสมัครใจ จะปรารถนาอย่างไร ได้เช่นนี้ เมื่อใดจึงจะชื่อว่า พวกเรารู้จัก บุญกุศล กันจริงๆ รู้ทิศทางแห่งการก้าวหน้า และทิศทางที่วกเวียน ว่าเป็นของที่ไม่อาจจะเอามาเป็นอันเดียวกัน ได้เลย แม้จะเรียกว่า "ทางๆ" เหมือนกัน ทั้งสองฝ่าย


ท่านอาจารย์พุทธทาส อินทปัญโญ



วันเสาร์ที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2553

Christmas eve from Thich nhat hanh 2011




 from Brother Stream

วันอังคารที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2553

ที่เชิญมาจาก พม่าขอเชิญพุทธศาสนิกชน ร่วมสักการบูชาและสรงน้ำ พระทันตธาตุ



Tuesday, October 5 · 11:00am - 9:00pm


ขอเชิญพุทธศาสนิกชน ร่วมสักการบูชาและสรงน้ำ พระทันตธาตุ (ฟันกราม) พระสัมมาสัมพุทธเจ้า และพระอรหันตธาตุ 8 พระองค์ ประกอบด้วย พระอัญญาโกณทัญญะ พระพากุละ พระสิวลี พระนาคเสน พระอนุรุท พระโมคคัลลานะ พระสารีบุตร และพระอานนท์ พร้อมด้วยพระบรมสารีริกธาตุส่วนต่างๆ จำนวน 1 บาตร

วันจันทร์ที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

วันเข้าพรรษา ๒๗ กรกฎาคม ๒๕๕๓






   มีคลิปอื่นอีกที่น่าติดตาม ตลอดช่วงเข้าพรรษานี้คะที่  Many TV

วันเสาร์ที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2553

วิธีแก้เคราะห์ ของแผ่นดิน





  
                           สัปดาห์ที่แล้ว นายกฯอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ จัด ทำบุญใหญ่ 5 ศาสนา ที่ทำเนียบรัฐบาล เพื่อทำบุญประเทศ ข่าวว่ามีเกจิ อาจารย์ทายทัก ฮวงจุ้ยไม่ดี หากไม่ทำบุญใหญ่ บ้านเมืองจะเกิดความ วุ่นวาย พระพรหม ที่สถิตอยู่บนยอดตึกไทยคู่ฟ้า อาจไม่คุ้มครองทำเนียบรัฐบาล ว่ากันไปโน่น

วัน เสาร์สบายๆวันนี้ผมเลยขอนิมนต์ธรรมะข้อคิดของท่าน ว.วชิรเมธี พระชื่อดังจากหนังสือ ลายแทงแห่งความสุข มาถ่ายทอดสู่กันฟัง เพื่อประเทืองปัญญาคณะรัฐมนตรีและพุทธศาสนิกชนทั้งหลาย

ขอเชิญสดับ ฟังได้ ณ บัดนี้
"ในบ้านเมืองที่วัฒนธรรมทาง ปัญญายังไม่เข้มแข็ง "ปัญหา" จะถูกเรียกว่า "เคราะห์" วิธีแก้ปัญหาจึงถูกออกแบบมาให้เป็นการ "สะเดาะเคราะห์" และการ "ทำบุญประเทศ" ครั้งแล้วครั้งเล่า

แต่เคยสังเกตบ้างไหมว่า ยิ่งสะเดาะเคราะห์ ทว่ากลับดูเหมือนเคราะห์ จะหนักหนาสาหัสมากขึ้นเรื่อยๆ ซ้ำยังขยายขอบเขตกว้างขวางออกไป จนกลายเป็นเคราะห์กรรมของคนทั้งแผ่นดิน

ใน บ้านเมืองที่วัฒนธรรมทางปัญญาเข้มแข็ง "ปัญหา" จะถูกยอมรับในฐานะที่เป็น  "วิกฤติ"   (ไม่เกี่ยวกับดวงชะตา-ฮวงจุ้ย-คุณไสย-คู่อริกลับชาติมาเกิดเพื่อ ราวีกัน) ดังนั้น วิธีแก้ปัญหาจึงเน้นการ "วิเคราะห์" อันนำไปสู่การอธิบายปัญหาอย่างเป็นเหตุเป็นผล   (หรือเป็นวิทยาศาสตร์ หรือเป็นไปตามหลักเหตุปัจจัยที่ว่า  "สิ่งนี้มี–สิ่งนี้จึงมี")   และนำไปสู่กระบวนการแก้ไขอย่างตรงประเด็นและยั่งยืน ไม่ใช่แก้ปัญหาเก่าเพื่อสร้างปัญหาใหม่ขึ้นมาแทนที่ เหมือนที่บางประเทศนิยมทำกัน

ความแตกต่างในวิธีการมองปัญหา และแก้ปัญหาของสองโลกทัศน์นี้อยู่ตรงที่

1. หากมองปัญหาว่าเป็น "เคราะห์" วิธีแก้ปัญหาจะหนักไปทาง "สะเดาะเคราะห์" และตัวปัญหาจะกลายเป็น "มือที่มองไม่เห็น" โดยที่ไม่เกี่ยวกับ "คน" และ "คน" ไม่เคยเป็นปัญหา หากแต่ปัญหาคือ "อะไรก็ไม่รู้" ซึ่ง "มองไม่เห็น" และเจ้า "อะไรก็ไม่รู้" นี่เอง ที่คอยเล่นงานประเทศไทยให้วุ่นวายไม่รู้จบ

ส่วน "คน" ไม่ต้องแก้ไขอะไร ไม่ต้องรับผิดชอบอะไร นี่คือ วิธีแก้ ปัญหาแบบปัดความรับผิดชอบ หรือแก้ปัญหาแบบไม่แก้ปัญหา และดังนั้น ปัญหาจึงไม่เคยได้รับการแก้ไขอย่างเป็นจริงเป็นจัง อย่างเป็นวิทยาศาสตร์ และอย่างที่คนผู้มีปัญญาจะพึงกระทำกัน

2. หากมองปัญหาว่าเป็น "วิกฤติ" วิธีแก้ปัญหาจะหนักไปทาง "วิเคราะห์" เพื่อแยกแยะหาสาเหตุแห่งปัญหา หรือ "วิจัย" เพื่อแสวงหาคำตอบอย่างเป็นเหตุเป็นผล มีหลักฐาน หลักวิชาการรองรับ และ

นำ ไปสู่การแก้ไขปัญหาอย่างตรงประเด็น ยั่งยืน และผู้ที่เป็นตัวปัญหา จะเป็นสิ่งที่สามารถหยิบจับสัมผัสได้ อธิบายได้ มีชีวิตอยู่ในโลกนี้ และการแก้ปัญหาจะใช้ "คน" เป็นหลัก ไม่มีการปัดความรับผิดชอบไปให้สิ่งอื่นที่นอกเหนือมนุษย์ออกไป

ดัง นั้น เมื่อแก้ปัญหาด้วยวิธีการแห่งปัญญาจบแล้ว ก็จึงเป็นอันจบ

ใน บ้านเมืองที่ คนมีวัฒนธรรมทางปัญญาไม่เข้มแข็ง ประชาชนจะอยู่กันด้วย "ความรู้สึก" และมากไปด้วย "ความขัดแย้ง" พร้อมมี "ความริษยา" คนเก่ง คนดี ซึ่งเมื่อประชาชนมากไปด้วย "ความ รู้สึก" อุดมไปด้วย "ความขัดแย้ง" ซ้ำยังมี "ความริษยา" เข้มข้น ประชาชนก็จะ "แตกความสามัคคี" และนำไปสู่ "สงครามกลางเมือง" อย่างง่ายดาย..."

บทความเรื่อง เคราะห์กรรมของแผ่นดิน นี้ท่าน ว.วชิรเมธีเขียนเตือนเมื่อเดือนมีนาคม 2552 แล้ว "สงครามกลางเมือง" ก็มาเกิดขึ้นในเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมานี้เอง หนึ่งปีเศษหลังจากที่ท่านได้เขียนเตือนแล้ว

ผมก็ขอฝากข้อคิดของ ว.วชิรเมธี ไว้ตรงนี้ เพื่อเตือนสติคนไทยทุกคน   ฝากไปยัง   นายกฯอภิสิทธิ์   เวชชาชีวะ   เพื่อนำไปเป็น  "ฐานปัญญา"   ของ  รัฐบาลและคณะรัฐมนตรี   เพื่อนำไปสู่การแก้ไขปัญหาของบ้านเมืองอย่างยั่งยืน.


ที่มา..Dhamma today. นสพ.ไทยรัฐ ฉบับวันที่ 20 มิถุนายน 2553
โดย..ลม เปลี่ยนทิศ
  

วันพุธที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2553

เคล็ดลับเอาชนะความโกรธและวิธีสร้างเสน่ห์ทางใจ โดย คุณ ดังตฤณ



                             16 มีนาคม 2010

สุริ วิภา - วิกรม กรมดิษฐ์


[วันออกอากาศ 2-04-53] 
พร้อมแขกรับเชิญ น้องชาย และ น้องสาวต่างมารดา 
ของ คุณ วิกรม กรมดิษฐ์

ผู้ติดตาม